วันศุกร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2551

หัวข้อเรียงความที่น่าสนใจและนำไปออกข้อสอบเสมอ

หัวข้อเรียงความที่น่าสนใจที่สุด ณ ตอนนี้

เรื่องความเรื่อง ...

คำว่า "การดื้อแพ่งตามกฎหมาย หรือ อารยะขัดขืน" ในมุมมองของท่านเป็นอย่างไร

หากยังไม่มี idea ลองคลิ๊กเข้าไปที่

การดื้อแพ่งต่อกฎหมายของประชาชน

ความหมายของคำว่า "ดื้อแพ่ง"

อารยะขัดขืนของนักปรัชญา Vs อารยะขัดขืนของพันธมิตร (ตอนที่ 1)

อารยะขัดขืนของนักปรัชญา Vs อารยะขัดขืนของพันธมิตร (ตอนที่ 2)


----------------------------------------------------------
ส่วนหัวข้อที่มีความน่าสนใจและนำไปออกข้อสอบเรียงความอยู่บ่อยครั้งมีดังนี้ครับ
----------------------------------------------------------

1.นักกฎหมายที่ดีในทัศนะคติของท่าน

2.คุณธรรม จริยธรรมของนักกฎหมาย

3.แนวทางการประกอบวิชาชีพทางกฎหมาย

4.ท่านมีความเห็นอย่างไรต่อการผสมเทียมมนุษย์

5.บทบาทนักกฎหมายต่อสังคม

6.คุณธรรม จริยธรรมขั้นมูลฐานของนักกฎหมาย

7.ท่านมีความเห็นอย่างไรต่อการทำแท้งเสรี

8.ท่านมีความเห็นอย่างไรต่อการผสมเทียมมนุษย์

9.คุณธรรม จริยธรรมที่นักกฎหมายพึงมี

10.กฎหมาย กับ ความยุติธรรม สิ่งใดสำคัญกว่ากัน

11.ท่านมีความเห็นอย่างไรต่อการจดทะเบียนสมรสโดยถูกต้องตามกฎหมายของเพศที่สาม

12.การพัฒนาสังคม กับ บทบาทของนักกฎหมาย

13.ปัญหาทางจริยธรรมของนักกฎหมาย

14.วิชาชีพทางกฎหมายที่ข้าพเจ้าใฝ่ฝัน

15.การพัฒนาด้านคุณธรรม จริยธรรมของนักกฎหมาย


ให้น้อง ๆ ที่มีเขียนเรียงความตามหัวข้อข้างต้นหรือหัวข้ออื่นที่มีความน่าสนใจ

>>>>> >>>>>> ... แล้วส่งมาที่ hanayolaw@gmail.com

พี่จะรีบดำเนินตรวจและให้คำแนะนำเพื่อให้น้องนำไปปรับปรุงในการเขียนเรียงความต่อไป

เทคนิคการเขียนคำนำ ตอนที่ 6 การเขียนคำนำด้วยการยกข้อความที่ตัดตอนมากล่าว

การเขียนคำนำมีมากมายหลายวิธี แต่เพื่อความกระชับ ผมขอยกมาแค่ 6 วิธีที่ดีที่สุด อย่างไรก็ตามที่ผมย้ำไปย้ำมา หลายครั้ง นั่นก็คือ " ... การเขียนคำนำนั้น “จะเขียนอย่างไรก็ได้แต่ต้อง ก่อความสนใจ” ให้แก่ผู้อ่านมากที่สุด ... "

------------------------------------
เทคนิคที่ 6 การเขียนคำนำด้วยการยกข้อความที่ตัดตอนมากล่าว
-------------------------------------

ตัวอย่าง

“สถาบันศาลยุติธรรมนับว่ามีบทบาทสำคัญในการคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพและความยุติธรรมของประชาชนในสังคมประชาธิปไตย ดังคำจารึกในหิรัญบัตรที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริเกี่ยวกับการปฏิรูประบบ ศาลยุติธรรมตอนหนึ่งว่า “...การยุติธรรมอันเดียวเป็นการที่สำคัญยิ่งใหญ่ เป็นหลักประธานการชำระตัดสินความทุกโรงศาล เป็นเครื่องประกอบรักษาให้ความยุติธรรม เป็นไปถ้าจัดให้ดีขึ้นเพียงใด ประโยชน์ความสุขของราษฎรก็จะเจริญยิ่งขึ้นเท่านั้น เพราะฉะนั้นจึงได้ทรงพระอุตส่าห์ไต่สวนในพระราชกำหนดกฎหมายเก่าใหม่และการที่ลูกขุนตระลาการได้กระทำแต่ก่อน ๆ สืบมาจนทุกวันนี้....”

เทคนิคการเขียนคำนำ ตอนที่5 การเขียนคำนำด้วยการเล่าเรื่อง

สิ่งที่สำคัญที่สุดที่ผู้เขียนเรียงความจะต้องตระหนัก คือ

" ... การเขียนคำนำนั้น “จะเขียนอย่างไรก็ได้แต่ต้อง “ก่อความสนใจ” ให้แก่ผู้อ่านมากที่สุด ... "

------------------------------------
เทคนิคที่ 5 การเขียนคำนำด้วยการเล่าเรื่อง
-------------------------------------

ตัวอย่าง

“โลกยุคปัจจุบันและโลกในอนาคตอันใกล้ กำลังลดทอนความมีคุณธรรมจริยธรรม ความดีงาม ความยุติธรรม ความชอบธรรม เหลือแค่เพียงความถูกผิดทางกฎหมาย และโดยเฉพาะความถูกผิดตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับของหน่วยงานของตนเอง จึงเกิดการโต้แย้งโต้เถียง ปกป้องและกล่าวหาผู้อื่นในทำนองว่าตนเองทำถูกต้องตามกฎระเบียบข้อบังคับของหน่วยงานที่ตนสังกัด ทำถูกต้องตามหน้าที่ของตำแหน่งที่ตนดำรงอยู่ ส่วนคนอื่นที่ประท้วงหรือต่อต้าน เป็นฝ่ายผิด ไม่รู้เรื่องหรือแม้กระทั่งหาเรื่อง ในทางกลับกันอีกฝ่ายก็โจมตีอีกฝ่ายว่าผิด และบอกว่าตนเองถูก”

วันจันทร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2551

เทคนิคการเขียนคำนำ ตอนที่4 การเขียนคำนำด้วยการกำหนดความหมาย

ผมได้ย้ำเสมอว่า ... การเขียนคำนำมีหลายวิธี แต่ใครจะเลือกใช้วิธีไหนไปใช้ย่อมขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับเรื่องที่จะเขียนเป็นสำคัญ รวมทั้งความถนัดส่วนบุคคลด้วย

แต่สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ ต้องตระหนักไว้เสมอว่า...

" ... การเขียนคำนำนั้น “จะเขียนอย่างไรก็ได้แต่ต้อง “ก่อความสนใจ” ให้แก่ผู้อ่านมากที่สุด ... "

------------------------------------
เทคนิคที่ 4 การเขียนคำนำด้วยการกำหนดความหมาย
-------------------------------------

ตัวอย่าง

“เศรษฐกิจพอเพียง คืออะไร? เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ยึดหลักทางสายกลาง ที่ชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัวไปจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศ ให้ดำเนินไปในทางสายกลาง มีความพอเพียง และมีความพร้อมที่จะจัดการต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ซึ่งจะต้องอาศัยความรอบรู้ รอบคอบ และระมัดระวัง ในการวางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอน เศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่เพียงการประหยัด แต่เป็นการดำเนินชีวิตอย่างสมดุลและยั่งยืน เพื่อให้สามารถอยู่ได้แม้ในโลกที่มีการแข่งขันสูง"

เทคนิคการเขียนคำนำ ตอนที่3 การเขียนคำนำด้วยการอธิบายชื่อเรื่อง

อย่าลืมว่า ... การเขียนคำนำมีหลายวิธี แต่จะเลือกใช้วิธีไหนย่อมขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับเรื่องที่จะเขียนเป็นสำคัญ

และที่สำคัญที่สุด การเขียนคำนำนั้น “จะเขียนอย่างไรก็ได้แต่ต้อง “ก่อความสนใจ” ให้แก่ผู้อ่านมากที่สุด

---------------------------------
เทคนิคที่ 3 การเขียนคำนำด้วยการอธิบายชื่อเรื่อง
---------------------------------

ตัวอย่าง

“เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตน ที่ในหลวงมีพระราชดำรัสแก่พสกนิกรชาวไทยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 และพูดถึงอย่างขัดเจนในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540เพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขเศรษฐกิจของประเทศไทย ให้ดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในกระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในทางการเมืองของไทยแล้ว เศรษฐกิจพอเพียงมีบทบาทสำคัญในการสถาปนาอำนาจนำด้านอุดมการณ์ โดยเฉพาะอุดมการณ์กษัตริย์นิยมในสังคมไทย ในฐานะ "กษัตริย์นักพัฒนา" ซึ่งส่งผลต่อการเติบโตของอุดมการณ์เศรษฐกิจพอเพียง สิ่งเหล่านี้ถูกตอกย้ำและผลิตซ้ำโดยสถาบันทางสังคมต่าง ๆ เช่น สถาบันการศึกษา หน่วยงานราชการ สื่อมวลชน ส่งผลให้เศรษฐกิจพอเพียงมีบทบาทต่อการกำหนดอุดมการณ์การพัฒนาของประเทศ”

เทคนิคการเขียนคำนำ ตอนที่2 การเขียนคำนำด้วยการยกคำพังเพยหรือสุภาษิต

การเขียนคำนำมีหลายวิธี แต่จะเลือกใช้วิธีไหนย่อมขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับเรื่องที่จะเขียนเป็นสำคัญ

อย่างไรก็ตาม การเขียนคำนำนั้น “จะเขียนอย่างไรก็ได้แต่ต้อง “ก่อความสนใจ” ให้แก่ผู้อ่านมากที่สุด

---------------------------------------
เทคนิคที่ 2 การเขียนคำนำด้วยการยกคำพังเพยหรือสุภาษิต
---------------------------------------

ตัวอย่าง

“ในภาษาไทย เรามีวลีที่รู้จักกันดีอยู่วลีหนึ่งคือ “ช้างตายทั้งตัว เอาใบบัวมาปิด” แต่วลีนี้มีความหมายโดยนัยที่ไปในทางที่ไม่ดี โดยอธิบายถึงการที่บุคคลใดที่ได้กระทำผิดแต่ต้องการปกปิด แต่การกระทำความผิดนั้นใหญ่เสียจนไม่สามารถปิดบังได้”

เทคนิคการเขียนคำนำ ตอนที่1 การเขียนคำนำด้วยการตั้งคำถาม

กล่าวกันว่าในการเขียนเรียงความ คำนำ (Introduction) เป็นตอนที่เขียนยากที่สุด เพราะว่าเป็นส่วนแรกที่จะชักชวนให้ผู้อ่านอ่านเรียงความของเราจนจบ ถ้าคำนำไม่ดีหรือไม่น่าสนใจ ผู้อ่านก็จะหยุดอ่านตั้งแต่ตอนต้น

จึงกล่าวถึงหลักในการเขียนคำนำไว้อย่างน่าสนใจว่า “จะเขียนอย่างไรก็ได้แต่ต้อง “ก่อความสนใจ” ให้แก่ผู้อ่านมากที่สุด และคำนำที่ดีก็ไม่ควรยาวเกินไป”

การเขียนคำนำมีหลายวิธี แต่จะเลือกใช้วิธีไหนย่อมขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับเรื่องที่จะเขียนเป็นสำคัญ

-----------------------------
เทคนิคแรก การเขียนคำนำด้วยการตั้งคำถาม
-----------------------------

ตัวอย่าง
“หลายคนอาจเคยสงสัยว่า การใช้ชีวิตแบบฉบับชาวไร่นั้นเป็นเช่นไร ซึ่งบางท่านอาจเป็นเพียงความใฝ่ฝัน และไม่กล้าทดลอง แต่คนที่เคยอยู่และเข้าใจชีวิตชนบทมาแล้วรู้ดีว่า ครั้งหนึ่งที่ท่านได้เชยชิมลิ้มรสความผาสุกอันแวดล้อมไปด้วยสิ่งที่เยือกเย็นไม่กลับกลอก ท่านก็จะพบชีวิตใหม่ที่หมายถึงการงาน และความมีอิสรภาพ แท้จริงอิสรภาพที่จะเป็นตัวของตัวเองได้อย่างปลอดโปร่งใจ”

องค์ประกอบของเรียงความ


เรียงความเรื่องหนึ่งจะประกอบด้วยกี่ย่อหน้าก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาดูแล้วจะพบส่วนประกอบหลักอยู่ 3 ส่วนคือ ความตอนต้น เรียกว่าคำนำ ความตอนกลาง เรียกว่า เนื้อเรื่อง ความตอนท้าย เรียกว่า ส่วนสรุป

หลักการเขียนเรียงความ
- คำนำต้องน่าสนใจ
- เนื้อเรื่อง ต้องน่าติดตาม
- ส่วนสรุปต้องประทับใจ

ความหมายของการเรียงความและการย่อความ

เรียงความ

คือการรวบรวมความคิดและถ่ายทอดหรือเรียบเรียงความรู้ ความคิดตลอดจนความรู้สึกและความเข้าใจของตนให้ผู้อื่นทราบและเข้าใจในสิ่งผู้เขียนเรียงความต้องการสื่อสาร ดังนั้น การเขียนเรียงความจึงเป็นกระบวนการใช้สติปัญญา ความรู้ความสามารถเพื่อถ่ายทอดและเรียบเรียงเรื่องราวอย่างมีแบบแผนและมีศิลปะแห่งการใช้ถ้อยคำภาษา มีคุณค่าควรแก่การอ่าน


-------------------------------------------------------------------------------------

ย่อความ

คือการเก็บใจความหรือแนวคิดสำคัญของเรื่องที่ได้อ่านหรือฟังแล้วนำมาเรียบเรียงใหม่ด้วยภาษาที่สั้นกะทัดรัด แต่คงความหมายของเรื่องเดิมไว้ได้อย่างครบถ้วนบริบูรณ์

จุดประสงค์ของการย่อความ มีดังนี้

1.มุ่งเก็บเนื้อเรื่อง คือเก็บใจความสำคัญของเรื่องมาทั้งหมดและสมบูรณ์ พอที่จะทำให้คนอ่านนั้นเข้าใจได้ดีโดยตลอด โดยไม่ต้องรู้เรื่องเดิมมาก่อน ส่วนขยายหรือผลความนั้นตัดออก

2.มุ่งเก็บความคิด คือพยายามอ่านว่าผู้เขียนเรื่องแสดงความคิดไว้อย่างไรบ้าง อาจจะแสดงไว้ชัดเจน หรือเป็นทำนองเปรียบเทียบซึ่งจะต้องดึงความคิดของผู้เขียนออกมาให้ได้ เรื่องที่จะต้องเก็บความคิดนั้น มักจะเป็นบทความ หรือบทวิจารณ์ต่าง ๆ

3.มุ่งเก็บความรู้เพื่องานวิจัย คือการมุ่งเก็บเฉพาะข้อมูลที่จะใช้ในงานวิจัยแต่ละเรื่องเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องเก็บเนื้อเรื่อง หรือความคิดโดยสมบูรณ์ของเรื่องนั้น แต่เก็บเพียงเนื้อเรื่องหรือความคิดบางส่วนที่ต้องการนำมาใช้ในเรื่องที่ค้นคว้าโดยเฉพาะเท่านั้น

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
LL.M. (Chulalongkorn University) LL.B. (WITH FIRST CLASS HONOR) (CMU), THAI BARRISTER AT LAW, LAWYER LICENCE