กล่าวกันว่าในการเขียนเรียงความ คำนำ (Introduction) เป็นตอนที่เขียนยากที่สุด เพราะว่าเป็นส่วนแรกที่จะชักชวนให้ผู้อ่านอ่านเรียงความของเราจนจบ ถ้าคำนำไม่ดีหรือไม่น่าสนใจ ผู้อ่านก็จะหยุดอ่านตั้งแต่ตอนต้น
จึงกล่าวถึงหลักในการเขียนคำนำไว้อย่างน่าสนใจว่า “จะเขียนอย่างไรก็ได้แต่ต้อง “ก่อความสนใจ” ให้แก่ผู้อ่านมากที่สุด และคำนำที่ดีก็ไม่ควรยาวเกินไป”
การเขียนคำนำมีหลายวิธี แต่จะเลือกใช้วิธีไหนย่อมขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับเรื่องที่จะเขียนเป็นสำคัญ
-----------------------------
เทคนิคแรก การเขียนคำนำด้วยการตั้งคำถาม
-----------------------------
ตัวอย่าง
“หลายคนอาจเคยสงสัยว่า การใช้ชีวิตแบบฉบับชาวไร่นั้นเป็นเช่นไร ซึ่งบางท่านอาจเป็นเพียงความใฝ่ฝัน และไม่กล้าทดลอง แต่คนที่เคยอยู่และเข้าใจชีวิตชนบทมาแล้วรู้ดีว่า ครั้งหนึ่งที่ท่านได้เชยชิมลิ้มรสความผาสุกอันแวดล้อมไปด้วยสิ่งที่เยือกเย็นไม่กลับกลอก ท่านก็จะพบชีวิตใหม่ที่หมายถึงการงาน และความมีอิสรภาพ แท้จริงอิสรภาพที่จะเป็นตัวของตัวเองได้อย่างปลอดโปร่งใจ”
Go to Main Page
เทคนิคการเรียงความและย่อความ
-
▼
2008
(9)
-
▼
สิงหาคม
(9)
- ความหมายของการเรียงความและการย่อความ
- องค์ประกอบของเรียงความ
- เทคนิคการเขียนคำนำ ตอนที่1 การเขียนคำนำด้วยการตั้ง...
- เทคนิคการเขียนคำนำ ตอนที่2 การเขียนคำนำด้วยการยกคำ...
- เทคนิคการเขียนคำนำ ตอนที่3 การเขียนคำนำด้วยการอธิบ...
- เทคนิคการเขียนคำนำ ตอนที่4 การเขียนคำนำด้วยการกำหน...
- เทคนิคการเขียนคำนำ ตอนที่5 การเขียนคำนำด้วยการเล่า...
- เทคนิคการเขียนคำนำ ตอนที่ 6 การเขียนคำนำด้วยการยกข...
- หัวข้อเรียงความที่น่าสนใจและนำไปออกข้อสอบเสมอ
-
▼
สิงหาคม
(9)
วันจันทร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2551
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
เกี่ยวกับฉัน
- tutorlawGroup
- LL.M. (Chulalongkorn University) LL.B. (WITH FIRST CLASS HONOR) (CMU), THAI BARRISTER AT LAW, LAWYER LICENCE
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น